ตู้ปลาเป็นอุปกรณ์อันดับแรกเลยที่ควรจะนึกถึงก่อน ตู้ปลาที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมี 2 ชนิด
1.1 ตู้กระจกเป็นตู้ที่เป็นที่นิยมสูงของผู้เลี้ยงปลาเพราะหาซื้อง่าย ราคาถูก ทนต่อรอยขูดขีด แต่ตู้กระจกก็ยังมี
ข้อเสียอยู่ที่ หากแตกจะทำให้เกิดอันตรายได้ ถ้ากระจกหนาไปจะทำให้มองเห็นกระจกเป็น สีเขียวอ่อน ๆ ตู้กระจกมีน้ำหนักมากเมื่อขนาดใหญ่ขึ้น
1.2 ตู้อคริลิกเป็นตู้อีกชนิดหนึ่งที่นิยมกัน แต่ส่วนใหญ่ที่ไม่เป็นที่นิยมกันเพราะตู้อคริลิกมีราคาแพงกว่าตู้กระจก
หลายเท่า ไม่ทนทานต่อการขูดขีด หากชำรุดยากต่อการซ่อมบำรุงและดูแลรักษา แต่ตู้อคริลิกมีความใสกว่า
กระจก รูปแบบมักจะสวยกว่าสามารถดัดตามรูปแบบที่ต้องการได้ น้ำหนักเบา ตู้ปลาส่วนมากจะมีความยาว
มากกว่าความสูงเพราะจะมีเนื้อที่ให้ปลาว่ายหรือเพิ่มมุมมองให้กับตู้ปลา
เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องนึกถึงเพราะถ้าวางในที่ตั้งที่ไม่ดีแล้วสิ่งมีชีวิตภายในตู้ปลาของเราอาจเกิดปัญหาได้
- ตั้งที่มุมสงบไม่พุกพล่าน ปลาจะเกิดอาการเครียด ตกใจง่าย ไม่กล้าออกมาว่ายน้ำ อาจเป็นสาเหตุโน้มนำให้ปลาที่
เลี้ยงป่วยได้
- ไม่เกะกะกีดขวางการทำงานอื่น ถ้าตู้ปลาได้รับการกระทบกระเทือนขณะมีน้ำอยู่อาจจะทำให้แตกและได้รับ
อันตรายได้ เพราะกระจกตู้มีภาระที่ต้องรองรับแรงดันของน้ำอยู่แล้ว
- แสงอาทิตย์ จะทำให้มีผลต่อการเกิดตะไคร่ จะทำให้ตู้ปลาที่เราเลี้ยงดูสกปรกแต่ถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงมากใน
รอบวันก็จะทำให้ปลาที่เราเลี้ยงไม่แข็งแรง อ่อนแอติดเชื้อโรคได้ง่าย
ความสะดวกในการดูแลรักษาเป็นผลมาจากการเลือกวางตู้ปลา หากวางตู้ปลาในที่เหมาะสมแล้การดปลี่ยนถ่ายน้ำควรใกล้แหล่งทิ้งน้ำเข้า หากเป็นไปไม่ได้ควรใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ มาช่วย เช่น สายยาง กระป๋องตักน้ำ ควรให้แหล่งทิ้งน้ำอยู่ต่ำกว่าตู้ปลาจะได้ง่ายต่อการถ่ายน้ำ
ส่วนมากการเลี้ยงปลามักจะใช้น้ำประปามาใส่ตู้ เพราะความสะดวกสบายของผู้เลี้ยงและไม่สามารถหาน้ำจากแหล่งอื่นได้ การจะนำน้ำประปาควรนำน้ำประปาที่รองทิ้งไว้ 1-2 วัน แล้วจึงนำมาใช้เพราะน้ำประปามีน้ำคลอรีนละลายอยู่แต่ความเป็นจริงแล้วน้อยคนที่จะทำเช่นนั้น ส่วนใหญ่ใช้น้ำประปาโดยตรงเลย ควรที่จะทิ้งไว้เสียก่อน และใช้สารเคมีกำจัดคลอรีน เช่น โซเดียมไทโอซัลเฟต ก่อนนำมาใช้
ในตู้ปลาที่มีสิ่งมีชีวิตอย่างหนาแน่นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้อากาศลงไปในตุ้ปลา เพื่อปลาและสิ่งมีชีวิตอื่นได้หายใจด้วยการให้อากาศมี 2 วิธีด้วยกัน
- ใช้เครื่องให้อากาศใต้น้ำ (Air Pump) โดยผ่านท่อลมและมีตัวปล่อยอากาศใต้น้ำ เช่น หัวทราย
- ใช้เครื่องพ่นน้ำขนาดเล็ก โดยให้หลักการให้น้ำหมุนเวียนขึ้นมาสัมผัสอากาศ หรือในเครื่องพ่นน้ำบางรุ่นจะมีท่อ
สำหรับใส่สายลมเพื่อดูดอากาศเข้าไปผสมกับน้ำ แล้วพ่นออกมาเป็นการให้อากาศในตู้ปลาอีกวิธีหนึ่ง
6.แสงสว่าง
โดยทั่วไปการให้แสงสว่างกับตู้ปลามักจะใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นส่วนใหญ่ เพราะหาซื้อง่ายราคาถูก โดยที่จริงแล้วแสงจากหลอดไฟไม่มีผลโดยตรงต่อการอยู่รอดของปลา แต่เป็นเพียงเพิ่มความสว่างให้ตู้ปลา หลอดบางชนิดทำให้เห็นสีของปลาสวยกว่าสีจริงด้วย และยังทำให้ปลาไม่ตื่นตกใจง่ายถ้าเราให้แสงสว่างเป็นประจำ
การกำจัดของเสียในตู้ปลาเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการเลี้ยงปลา เพราะเป็นไปไม่ได้ที่เราจะเปลี่ยนน้ำให้ปลาทุกวัน แต่ปลาต้องกินต้องถ่ายทุกวันทำให้ของเสียมีปริมาณมากขึ้น ถ้าเราไม่กำจัดมันออก การกำจัดของเสียส่วนมากเราจะใช้ระบบกรองน้ำโดยทั่วไปมักจะเห็นกันอยู่มี 2 แบบ
- กรองใต้ทราย (Sub sand filter) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลักการให้น้ำผ่านใต้ทรายแล้ว น้ำจะพ่นออกทางท่อเหนือพื้น
ทรายสิ่งสกปรกก็จะติดอยู่ที่พื้นทราย จุลินทรีย์ในทรายก็จะย่อยสลายของเสีย
- การกรองแบบเปียก – แห้ง (Wet & dry filter) เป็นการกรองโดยใช้หลักการโปรยน้ำลงมาโดยมีวัสดุพื้นที่ผิวมาก
เป็นตัวรองรับ โดยผ่านตัวกรองหลาย ๆ ชนิด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การโปรยน้ำก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ ทำให้
เพิ่มอ๊อกซิเจนให้กับตู้ปลาของเรา และการที่น้ำผ่านวัสดุพ้นที่ผิวมากก็จะทำให้น้ำสัมผัสกับพื้นที่ยึดเกาะของ
จุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่บำบัดคุณภาพน้ำ ทั้งจุลลินทรีย์ที่ใช้อ๊อกซิเจนและจุลินทรีย์ไม่ใช้อ๊อกซิเจนในการย่อยสลาย
ของเสีย วัสดุเหล่านี้มักพบเห็นทั่วไปเช่น ไบโอบอล ( Bioball ) กรวดปะการัง ฯลฯ
อุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นตัวเพิ่มสีสันให้กับตู้ปลาไม่ว่าจะเป็นการเลียนแบบธรรมชาติ หรือที่เป็นจินตนาการของ
ผู้ประดิษฐ์เอง เช่น ก้อนหิน ขอนไม้ ปะการังเทียม ต้นไม้พลาสติก การตกแต่งตู้ปลาด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้นไม่ใช่ว่าเพียง
แค่ความสวยงาม แต่ยังมีประโยชน์ในแง่เป็นที่หลบของปลาอาณาเขตอีกด้วยไม่ควรนำอุปกรณ์ตกแต่งที่อาจจะเป็น
อันตรายต่อปลา เช่นวัสดุที่มีสีละลายน้ำ วัสดุที่เป็นสนิม
9. การจัดวางและการจัดตู้ปลา
เมื่อเราเลือกอุปกรณ์จัดตู้ปลาแล้วควรที่จะเลือกที่วางให้เหมาะสม คือ ของชิ้นเล็กควรไว้ข้างหน้าควรมีจุดเด่นในตู้ปลา ในตู้ปลาไม่ควรที่จะรกเกินไปจนปลามีที่ว่ายน้อยลง สะดวกต่อการนำสวิงลงไปตักปลา เมื่อต้องการนำปลาออกจากตู้
ควรศึกษาก่อนที่จะเลือกซื้อปลาว่าปลาแต่ละชนิดสามารถที่จะเลี้ยงรวมกันได้หรือไม่ กัดกันหรือเปล่าหรือปลาบางชนิดอาจกินปลาเล็กเป็นอาหาร ปลาแต่ละชนิดกินอะไรเป็นอาหาร เช่น
- ปลาที่สามารถอยู่รวมกันไม่กัดกัน เช่น ปลาทอง ปลาเทวดา ปลาหางไหม้ ปลากระดีมุก ฯลฯ
- ปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร เช่น ปลามังกร ปลาออสการ์ ปลาตองลาย ปลาเสือตอ ปลากระทิง ปลาชะโด ฯลฯ
อาหารที่สามารถนำมาให้ปลามีหลายชนิดขึ้นอยู่กับชนิดของปลาที่เราจะได้
- ถ้าเป็นอาหารสำเร็จรูปไม่ว่าจะอยู่ในรูปลอยน้ำ จมน้ำ เป็นแผ่น จะสะดวกในการเตรียมและให้แต่ควรระวังเรื่อง
คุณภาพน้ำ ถ้าอาหารเหลือจะทำให้เน่าได้ง่ายจึงควรให้แต่น้อยพอปลากินหมดไม่ควรให้เหลือ ถ้าเหลือควรตักเศษ
อาหารออกก่อนที่จะเน่า
- อาหารมีชีวิต เช่น ลูกน้ำ ไรทะเล ไรน้ำจืด ไส้เดือนน้ำ หนอนนก ลูกกบ ลูกปลา ฯลฯ อาหารเหล่านี้ปลาหลายชนิด
จะชอบกินมากกว่าอาหารสำเร็จรูปเพราะมีความสด คุณค่าทางอาหารสูงกว่าแต่อาหารมีชีวิตมักจะเป็นพาหะและมี
เชื้อโรคมาสู่ปลาที่เราเลี้ยง
- ก่อนที่เราจะให้อาหารมีชีวิตเหล่านี้ ควรทำความสะอาดก่อน เช่น ทำความสะอาด หนอนแดง ไรทะเล ไส้เดือนน้ำ
ด้วยฟอร์มาลีนเจือจาง ประมาณ 300 ppm. แล้วล้างน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้งจนมั่นว่าสะอาดก่อนนำมาให้ปลาที่
เลี้ยงกิน
การเลี้ยงปลาสวยงามในปัจจุบันมีการพัฒนาขึ้นมาก มีการนำปลาแปลกๆและปลาที่ไม่ค่อยพบเห็นได้ง่ายนักมาจำหน่ายเป็นปลาสวยงาม ถึงแม้ปลาเหล่านั้นจะไม่สวยงามแต่ก็ได้รับความนิยม เพราะมีการนำไปเลี้ยงเพื่อประดับห้องรับแขก หรือใช้ในการตกแต่งห้องโชว์รูม ทำให้มีการเน้นเพิ่มความสวยงามเป็นพิเศษ และเพิ่มบรรยากาศของความมีชีวิตชีวาให้มากขึ้น จึงมักนิยมใช้ตู้กระจกสำหรับเลี้ยงปลา และตกแต่งด้วยอุปกรณ์ต่างๆเพื่อให้ดูสวยงาม ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตอุปกรณ์ตกแต่งให้มีรูปทรงต่างๆมากมาย
การเลี้ยงปลาสวยงามในปัจจุบันมีการพัฒนาขึ้นมาก มีการนำปลาแปลกๆและปลาที่ไม่ค่อยพบเห็นได้ง่ายนักมาจำหน่ายเป็นปลาสวยงาม ถึงแม้ปลาเหล่านั้นจะไม่สวยงามแต่ก็ได้รับความนิยม เพราะมีการนำไปเลี้ยงเพื่อประดับห้องรับแขก หรือใช้ในการตกแต่งห้องโชว์รูม ทำให้มีการเน้นเพิ่มความสวยงามเป็นพิเศษ และเพิ่มบรรยากาศของความมีชีวิตชีวาให้มากขึ้น จึงมักนิยมใช้ตู้กระจกสำหรับเลี้ยงปลา และตกแต่งด้วยอุปกรณ์ต่างๆเพื่อให้ดูสวยงาม
ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตอุปกรณ์ตกแต่งให้มีรูปทรงต่างๆมากมาย ผู้เลี้ยงควรจะต้องศึกษาวิธีการใช้และประโยชน์ของอุปกรณ์ต่างๆให้เข้าใจ จึงจะช่วยให้การเลี้ยงปลาสวยงามแลดูสวยงามสมดังตั้งใจ และทำให้ปลามีสุขภาพดีและมีการเจริญเติบโตได้ดีด้วย
ภาชนะหรือสิ่งที่จะใช้ในการเลี้ยงปลาสวยงาม จะเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่ผู้เลี้ยงปลาจะต้องพิจารณาให้รอบคอบ เพราะจะต้องเน้นให้สามารถชมปลาที่เลี้ยงได้ง่าย แลดูสวยงาม กลมกลืนเข้ากับสภาพพื้นที่ และยังต้องมีความเหมาะสมต่อการดำรงชีพของปลาสวยงามที่จะเลี้ยงด้วย ประเภทของภาชนะที่นิยมกันในปัจจุบันมีดังนี้
ภาชนะเลี้ยงปลาสวยงามประเภทนี้ได้แก่ โหลแก้ว และขวดต่างๆ ซึ่งในสมัยก่อนมักเป็นขวดเหลี่ยมที่นิยมใช้เลี้ยงปลากัด เพราะมีความจำเป็นต้องเลี้ยงขวดละตัว มิฉะนั้นปลาจะกัดกัน แต่ในปัจจุบันจะมีขวดทรงกลมรูปทรงต่างๆสวยงาม มีขนาดความจุประมาณ 3 -
เป็นภาชนะเลี้ยงปลาที่มักจะประกอบด้วยกระจกทั้ง 4 ด้าน ในสมัยก่อนมักจะมีโครงเหล็กประกอบอยู่ภายนอก เพื่อเป็นตัวรับแรงดันของน้ำ เพราะวัสดุที่ใช้ในการยาขอบตู้ยังมีแรงยึดเหนี่ยวกระจกไม่ดีพอ แต่ในปัจจุบันมีกาวซิลิโคนสำหรับยาขอบตู้ปลา ซึ่งเป็นวัสดุที่มีแรงยึดเหนี่ยวกระจกได้ดี และมีความเหนียวพอที่จะรับแรงดันของน้ำได้มาก ทำให้ลดการใช้ขอบเหล็กไปเพราะดูไม่สวยงาม แต่ก็ยังมีการใช้ขอบอะลูมิเนียมกันบ้างเพื่อเพิ่มความแข็งแรง สะดวกในการเคลื่อนย้ายและเป็นขาตั้งตู้ให้สูงขึ้น ปัจจุบันตู้ปลาที่ประกอบขึ้นมีหลายขนาดและหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป อีกทั้งยังสามารถสั่งให้ประกอบตู้ปลาตามขนาดที่ต้องการได้ หรือหากต้องการดำเนินการประกอบตู้ปลาเองก็สามารถกระทำได้เช่นกัน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกหรือประกอบตู้ปลาคือ
ตู้ปลาที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีหลายขนาด ผู้เลี้ยงควรเลือกให้เหมาะสมกับขนาดของพื้นที่ ชนิดและขนาดปลา รวมทั้งจำนวนปลาสวยงามที่ต้องการเลี้ยง ควรเลือกตู้ปลาให้มีขนาดค่อนข้างใหญ่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะปลาจะมีพื้นที่ในการว่ายน้ำได้มากเหมือนอยู่ในธรรมชาติ คุณภาพน้ำจะค่อนข้างดี ทำให้ปลามีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง และเจริญเติบโตเร็ว การบอกขนาดของตู้ปลาในการซื้อขายมักจะนิยมบอกเป็น “นิ้ว” โดยมักจะบ่งเฉพาะความยาว เช่น ตู้ขนาด 18 นิ้ว หมายถึงตู้ปลาที่มีด้านยาวเท่ากับ 18 นิ้ว แต่ถ้าต้องการคำนวณหาความจุหรือปริมาณน้ำในตู้ปลา จะต้องวัดความกว้าง ความยาว และความสูงของตู้ปลาเป็นเซนติเมตร เช่นตู้ขนาด 18 นิ้ว จะมีความกว้าง 23 เซนติเมตร ความยาว 45 เซนติเมตร และความสูง 32 เซนติเมตร จะมีความจุ 33 ลิตร โดยคำนวณได้ดังนี้
คือ กระจกหรือพลาสติกใสที่ต่อขึ้นมา เพื่อการเลี้ยงปลา โดยมากจะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ก็มีรูปทรงอื่นๆวางขายในท้องตลาดเช่นกัน เช่นสี่เหลี่ยมจตุรัส ทรงกระบอก มีขนาดหลากหลาย ในตลาดปลาสวยงามของประเทศไทยมักจะวัดขนาดของตู้ปลาในหน่วยนิ้ว ซึ่งเป็นการเรียกตามหน่วยวัดของอุตสาหกรรมกระจกในสมัยก่อน โดยเรียกด้านหน้าตู้จากมุมมองของผู้เลี้ยงว่าด้านกว้าง ระยะจากด้านหน้าไปถึงด้านหลังตู้ว่าด้านลึก และระยะจากด้านล่างพื้นตู้ไปจนถึงขอบบนตู้จะเรียกว่าด้านสูง และมักจะเรียกขนาดของตู้ปลาอย่างย่อ ๆ ตามขนาดของด้านกว้างเท่านั้นเพื่อความสะดวก เช่น ตู้ปลาที่กว้าง 24 นิ้ว สูง 14 นิ้ว ลึก 12 นิ้ว ว่าตู้ 24 นิ้ว เป็นต้น และใช้หน่วยวัดความหนาของกระจกที่นำมาใช้ทำตู้ปลาเป็น หุน แต่ในปัจจุบันเริ่มที่จะปรับเปลี่ยนมาใช้หน่วยวัดระบบเมตริกกันมากขึ้นเพราะเป็นหน่วยวัดที่คนไทยส่วนใหญ่คุ้นเคยกว่า เข้าใจได้ง่ายกว่า และตามสินค้าจากต่างประเทศเช่นประเทศญี่ปุ่นที่มักจะวัดขนาดของตู้ปลาเป็นเซนติเมตร
กรองน้ำ เป็นระบบบำบัดน้ำโดยการเพิ่มที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ย่อยสลายที่มีอยู่ในน้ำ ให้ปริมาณจุลินทรีย์นั้นมีมากพอที่จะบำบัดของเสียจากปลาได้เพียงพอ ทั้งนี้เพราะปลาขับถ่ายในน้ำซึ่งจะทำให้น้ำเน่าเสีย ระบบกรองน้ำมีทั้งระบบกรองใต้กรวดทรายในตู้ ระบบกรองในตู้ทั้งแบบติดกับตัวตู้และแขวนลอย และระบบกรองนอกตู้
- อาหารสด ได้แก่ อาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงใดๆหรืออาหารที่ยังมีชีวิต เช่น ไรแดง, ไรทะเล , ลูกน้ำ, กุ้งฝอย, ลูกปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลานิล ปลาสอด รวมถึงแมลงหลายประเภท เช่น จิ้งหรีด และตัวอ่อนแมลง เช่น หนอนนก, หนอนแดง รวมถึงเนื้อสัตว์และพืชประเภทต่าง ๆ เช่น เนื้อกุ้งสดแช่แข็ง, หัวใจวัว, หัวใจหมู, ไข่กุ้ง ซึ่งในปัจจุบันก็มีผู้ผลิตที่ผลิตอาหารสดเหล่านี้ในรูปแบบสำเร็จรูปแช่แข็งขายเพื่อความสะดวกในการใช้และยืดอายุการเก็บรักษาอาหารสดของผู้เลี้ยง